สัปดาห์ที่ 6

สื่อการเรียนการสอน


 สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอนสื่อการศึกษา เป็นต้น

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
1.      ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน แต่มิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง เป็นสื่อที่ง่ายในการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น
2.      ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
3.      ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด
4.      ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ
5.      ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เรียนว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนถูกต้องมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการประเมินจากคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจจะมีภาพประกอบด้วยก็ได้

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
     1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
          1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
          1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
     2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
     3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ

คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
   1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
           1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
           1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
           1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
           1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
           1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
           2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
           2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
           2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
           2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
           2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
           2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
           2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
           2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
           2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
          2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
          2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
ที่มาของข้อมูล : 
https://mataveeblog.wordpress.com/2016/02/15/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2/



สื่อการเรียนการสอน โดยท่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 
อาจารย์ชวลิต เกตุกระทุ่ม

สื่อการสอน Instruction Media

สื่อมีหลากหลายประเภท-ด้านภาษาต่างประเทศ-ทางคณิตศาสตร์-ด้านสังคม ภูมิศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพ
ความหมาย คือ สิ่งเชื่อมโยงจากเนื้อหาไปสู่รูปธรรมที่ทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น
ทำเพื่อใคร พระราชบัญญัติ 2542สื่อทำเพื่อผู้เรียน

การประเมินผล
        ก่อนการประเมินผลต้องมีการวัดผลก่อน

วิธีประเมินผลสื่อการสอน
        1. การประเมินผลโดยผู้สอน ประสบการณ์มีความชำนาญให้คนในแผนกเดียวกันประเมินกันสื่อการสอน
                1) เป็นไปได้
                2) เที่ยงตรง
                3) มีประสิทธิภาพ วัดที่กระบวนการ ประสิทธิผลวัดที่ output
                4) มีประโยชน์
        2. การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ  ด้านการสร้างสื่อ การวัดผล ด้านเนื้อหา ในการประเมินนั้นคนในแผนกร่วมกันผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ
เช่น
                1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (อยู่ในสาขาเทคโนโลยี)
                2) ด้านวัดผล
3) ด้านเนื้อหา
แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสื่อที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์
***ในการวัดเนื้อหาต้องมีการวัดค่าคะแนนเฉลี่ย 0.75 (ค่าความเชื่อมั่นของสื่อ)

        3. การประเมินผลโดยผู้เรียน ใช้แบบประเมินเพื่อประเมินผลสื่อจะต้องประเมินผลทันทีหลังจากใช้สื่อนั้นให้ผู้เรียนประเมินเฉพาะสื่อ ไม่เกี่ยวกับความสามารถของผู้สอนแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณค่าของการประเมินสื่อขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้นั้น

ใช้ผลคะแนนเพื่อประเมินสื่อ
การหาประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยใช้เกณฑ์ E1/E2





        E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ
        X คือ ผลรวมของคะแนนทุกคนรวมกัน
        A คือ คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด

         N คือ จำนวนผู้เขียน


Evaluation 1 / Evaluation 2

E1 ประเมินจุดประสงค์ย่อยที่นำสื่อการสอนไปใช้เก็บคะแนนวัตถุประสงค์ย่อย



E2  คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
คือ คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน
B  คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
คือ จำนวนผู้เรียน

เช่น พีทาโกรัส











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 7