สัปดาห์ที่ 7

10 เทคโนโลยีที่จะมาเป็นหัวใจของธุรกิจองค์กรปี 2017 โดย Gartner


ในงาน Gartner Symposium/ITxpo 2016 ทาง Gartner ได้ออกมาวิเคราะห์ถึง 10 เทคโนโลยีที่เหล่าองค์กรจะนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปี 2017 เพื่อสร้างเทคโนโลยีเฉพาะของตนเองขึ้นมาสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ ทางทีมงาน Tech Talk Thai จึงขอเรียบเรียงสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ




1. AI และ Advanced Machine Learning

Artificial Intelligence (AI) และ Advanced Machine Learning (ML) นั้นประกอบไปด้วยเทคโนโลยีภายใตต่างๆ มากมาย โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้เราสามารถก้าวข้ามการควบคุมระบบด้วยการกำหนดกฎต่างๆ ขึ้นมาได้จากการสร้างระบบที่สามารถทำความเข้าใจ, ทำนาย, ปรับตัว และทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ ทำให้เครื่องจักรต่างๆ มีความชาญฉลาดขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในแง่มุมต่างๆ แล้วก้จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, รถยนต์ไร้คนขับ, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ช่วยเสมือน (Virtual Personal Assistant/VPA), ระบบให้คำแนะนำ และอื่นๆ เป็นต้น


 2. Intelligent Apps

Application ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็น Virtual Personal Assistant (VPA) ที่ให้คำแนะนำในการทำงานทั่วๆ ไปอย่างเช่นการจัดการ Email, การช่วยอ่านเนื้อหาหรือโต้ตอบการสื่อสารต่างๆ โดยัอตโนมัติ หรือระบบ Virtual Consumer Assistant (VCA) ที่จะมาช่วยให้งานของเซลส์และทีมงานสนับสนุนง่ายขึ้นนั้น ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของเราไปเป็นอย่างมากในอนาคต

 3. Intelligent Things
สิ่งของต่างๆ ที่จะมีความชาญฉลาดเหนือกว่าการทำงานตามคำสั่งที่โปรแกรมเอาไว้ โดยมีการฝัง AI และ ML เพื่อให้สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างซับซ้อนยิ่งขึ้นและสามารถโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวและผู้คนได้อย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Drone, รถยนต์ไร้คนขับ, เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ หรืออื่นๆ รวมถึงการเปลี่ยนไปจากการทำงานแบบ Stand-alone ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ที่อยู่รายรอบได้

4. Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)
VR และ AR จะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ผู้คนจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และเปลี่ยนวิธีการที่ผู้คนจะใช้งาน Software โดยตลาดของ VR, AR และ Content ที่เกี่ยวข้องนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 และเทคโนโลยี VR/AR นี้จะถูกผนวกเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้การนำเสนอข้อมูลไปยังผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถทำได้แบบ Hyperpersonalized พร้อมกับนำเสนอ App และบริการต่างๆ ด้วย โดยการเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ Mobile, Wearable, IoT และ Sensor ก็จะทำให้ Immersive Application บน VR และ AR ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก พื้นที่ว่างภายในห้องนั้นนอกจากจะมีสิ่งต่างๆ และ IoT แล้ว ก็จะยังมีข้อมูลจากโลก Immersive Virtual World แสดงอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน

 5. Digital Twin
Digital Twin หรือการบันทึกข้อมูลของสิ่งของในโลกจริงในรูปแบบ Digital ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Sensor เพื่อวัดสถานะปัจจุบัน, ความเปลี่ยนแปลง และอื่นๆ ในรูปแบบของ Metadata, Condition/State, Event และ Analytics นั้นจะเริ่มกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยภายใน 3-5 ปี สิ่งของต่างๆ หลายพันล้านชิ้นทั่วโลกจะถูกจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Digital Twin และองค์กรต่างๆ ก็จะใช้ข้อมูล Digital Twin นี้ในการซ่อมบำรุงสิ่งของต่างๆ ล่วงหน้าและวางแผนจัดการกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้ การทำนายว่าอุปกรณ์ใดจะเสียล่วงหน้าหรือการปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นก็จะเกิดขึ้นจากข้อมูลเหล่านี้

 6. Blockchain และ Distributed Ledgers
Blockchain และ Distributed Ledgers นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมได้ โดยถึงแม้ปัจจุบันสองเทคโนโลยีนี้มักจะถูกพูดถึงในการนำไปใช้สำหรับเทคโนโลยีทางด้านการเงินเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain และ Distributed Ledgers นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเพลง, การตรวจสอบยืนยันตัวตน หรือแม้แต่ Supply Chain ก็ตาม

 7. Conversational System
ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังถูกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบ Chatbot และอุปกรณ์ที่ใช้งานไมโครโฟนได้เป็นหลัก แต่ในอนาคตนั้น แนวคิดของ Digital Mesh จะเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่มนุษย์เราเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วยมากขึ้นเหนือไปจากแค่ PC, Notebook และ Mobile Device กลายไปเป็นทุกๆ อุปกรณ์ที่มนุษย์เราสามารถสื่อสารด้วยได้ รวมไปถึงอุปกรณ์เหล่านี้เองก็จะต้องสื่อสารระหว่างกันได้ด้วย กลายเป็นโลกของ Digital Experience ที่ทุกสิ่งทุกอย่างสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา

 8. Mesh App and Service Architecture (MASA)
MASA นี้คือการที่ Mobile App, Web App, Desktop App และ IoT App เชื่อมต่อไปยังบริการ Back-end จำนวนมากเพื่อสร้างสิ่งที่ผู้ใช้งานอย่างเรามองเห็นว่าเป็น Application ใดๆ โดยสถาปัตยกรรม MASA นี้จะทำการนำเสนอบริการใดๆ ให้อยู่ในรูปของ API เพื่อเชื่อมต่อไปยังบริการอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มขยายได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นจะสามารถนำอุปกรณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็น Desktop, Smartphone, รถยนต์ไร้คนขับเข้ามาเชื่อมต่อกับบริการในสถาปัตยกรรม MASA ได้อย่างอิสระ และเข้าถึงข้อมูลหรือบริการต่างๆ ได้อยู่ตลอดเวลาแม้จะเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้งานไปตามอิริยาบถใดๆ ก็ตาม

 9. Digital Technology Platforms
Digital Technology Platform จะเป็นฐานแบบ Building Block ที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปสู่การเป็น Digital Business ได้ โดยในการเปลี่ยนธุรกิจให้กลายเป็น Digital Business นี้จะมีจุดที่ต้องมุ่งเน้นด้วยกัน 5 ประเด็น ได้แก่ Information Systems, Customer Experience, Anallytics and Intelligence, IoT และ Business Ecosystems ซึ่งแต่ละองค์กรอาจจะมุ่งเน้นในประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นที่แตกต่างกัน และอาจใช้ Digital Technology Platform ที่แตกต่างกันไปก็ได้

 10. Adaptive Security Architecture
เทคโนโลยีใหม่ข้างต้นทั้งหมดนั้นจะทำให้การรักษาความปลอดภัยมีความซับซ้อนขึ้นไปอีกเป็นอย่างมาก โดยการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานให้กับเหล่าอุปกรณ์ IoT นั้นควรจะเป็นสิ่งที่เหล่าองค์กรบรรลุให้ได้ และการติดตามผู้ใช้งานและพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ดี IoT เองนั้นก็เป็นปัญหาแก่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่เปิดกว้างค่อนข้างมากและยังต้องการวิธีการในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไป

ที่มาของข้อมูล :  http://www.gartner.com/technology/research/top-10-technology-trends/




แอพพลิเคชั่นคืออะไร?

                ในปัจจุบันนี้ ผู้คนมากมายต่างกำลังให้ความสนใจและใช้งานสิ่งที่เรียกว่า “แอพพลิเคชั่น” หรือ “แอพ” กันอย่างแพร่หลาย เราอาจจะไม่เข้าใจความหมายของมันว่ามันคืออะไรกันแน่ “แอพพลิเคชั่น” คือ ซอฟแวร์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถกระทำการบางอย่างได้ตามความต้องการของเรา แอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน๊ตบุ๊คนั้น เรียกว่า “เดสก์ทอป แอพพลิเคชั่น (Desktop Applications)” ส่วนแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนเครื่องอุปกรณ์พกพาทั้งหลาย เรียกว่า “โมบายล์ แอพพลิเคชั่น (Mobile Applications)” เมื่อเรารันแอพพลิเคชั่น มันจะทำงานอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการตลอดเวลาจนกว่าเราจะทำการปิดมันไป ภายในเวลาเดียวกัน อาจมีหลายแอพพลิเคชั่นที่กำลังทำงานพร้อมกันในระบบปฏิบัติการ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “มัลติแทสกิ้ง (Multitasking)”
                “แอพ หรือ App” เป็นคำสั้นๆที่ใช้แทนคำว่า “แอพพลิเคชั่น” โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นเล็กๆที่เราสามารถโหลดมาใช้งานได้อย่างง่ายๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อย แอพพลิเคชั่นจำนวนหนึ่งถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์พกพาและแม้กระทั่งทีวีบางรุ่น

ประเภทของแอพพลิเคชั่นบน PCs
                ปัจจุบันนี้มีแอพพลิเคชั่นอยู่มากมายเกินกว่าจะนับได้และแอพพลิเคชั่นมากมายนั้นก็บางแยกออกเป็นประเภทต่างๆอีกมากมาย บางแอพพลิเคชั่นเป็นแบบเต็มประสิทธิภาพอย่าง Microsoft Word ที่มีความสามารถในการจัดการด้านเอกสารครบครับ ในขณะที่บางแอพพลิเคชั่นอาจมีความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองอย่างเท่านั้น เช่น Gadgets ต่างๆ

                ด้านล่างนี้คือแอพพลิเคชั่นบางประเภทที่เราอาจกำลังใช้อยู่
                โปรแกรมประมวลผลคำ – เป็นแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เราเขียนตัวอักษรขึ้นมาและจัดการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ มันเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถพบได้ทั่วไปในสำนักงาน โปรแกรมประมวลผลคำที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ Microsoft Word

                บัญชีส่วนตัว – โปรแกรมจัดการด้านบัญชี เช่น Quicken ช่วยให้เราสามารถติดตามรายรับรายจ่ายภายในบัญชีธนาคารของเราได้ โปรแกรมจัดการด้านบัญชีส่วนตัวโดยทั่วไปแล้วจะเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางธนาคารตลอดเวลา ทำให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารได้ตลอดเวลา
                เว็บบราวเซอร์ – โปแกรมท่องเน็ตเป็นแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เราติดต่อกับข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์นี้ติดตั้งไว้อยู่ก่อนแล้ว แต่เราสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมท่องเน็ตตัวที่เราต้องการมาใช้งานได้ ตัวอย่างโปรแกรมท่องเน็ต ได้แก่ Internet Explorer, Firefox และ Chrome
                เกมส์ – เกมมากมายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแอพพลิเคชั่น มันมีมากมายหลายรูปแบบตั้งแต่เกมการ์ดเล็กๆอย่างSolitaire ไปจนถึงเกมขนาดใหญ่ที่ใช้สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สูงๆ เช่น Crysis 2, Call of Duty ฯลฯ
                มีเดีย เพลเยอร์ – โปรแกรมสำหรับใช้เล่นมัลติมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง แอพพลิเคชั่นที่มีให้เห็นในชีวิตประจำวันมากมาย มีทั้ง Windows Media Player, Winamp, iTunes ฯลฯ
                 Gadgets – บางครั้งอาจเรียกว่า “Widgets” มันเป็นเพียงแอพพลิเคชั่นเรียบง่ายธรรมดาที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาวางไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มันมีหลายหลายรูปแบบให้ผู้คนได้เลือกใช้ต่างออกไป เช่น ปฏิทิน แผนที่ เครื่องคิดเลข พยากรณ์อากาศ ฯลฯ

ที่มาของข้อมูล : http://thaieasy-it.blogspot.com/2013/06/blog-post_12.html


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 2