สัปดาห์ที่ 9
Week 1
: 13 พฤษภาคม 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. ระดมสมองสร้าง mind mapping อยากได้ความรู้อะไรจากการเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
จุดมุ่งหมายในการเรียนในวิชานี้ของนักศึกษา
2. เรียนรู้การเข้า Google Classroom สำหรับการเรียนการสอน
3. การสร้าง Blog ของตนเอง การออกแบบ Blog การแทรกรูปภาพ การแทรกวีดีโอ
4. การเพิ่ม Gadget สำหรับลิงก์รายชื่อเพื่อนใน Blog ของตนเอง
5. การใช้ Application บน Google
Web Store
ทักษะ
1. ทักษะความสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม
2. ทักษะการเรียนรู้ในสิ่งที่เรายังไม่เคยเรียนรู้ หรือทราบมาก่อน
3. ทักษะการฝึกสมอง การออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงาน
4. ทักษะการปฏิบัติงาน การพัฒนาผลงานของตนเอง
ผลการเรียนรู้
1. สามารถสร้าง Blog ของตนเองได้
2. ใช้งาน ออกแบบ หรือปรับแต่ง พัฒนา Blog ของตนเองได้
3. เรียนรู้โปรแกรมที่เราไม่เคยทราบมาก่อน เช่น Snipping tool ที่มีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว
4. ออกแบบ mind mapping ที่สวยงามจาก Application ใน Google App Store
5. นำความรู้ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
6. ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนสัปดาห์นี้คือ
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และทราบถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้
และปรับให้เข้ากับการเรียนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการศึกษาประเทศไทย 4.0
การสร้าง Blog ของตนเอง
การออกแบบธีม
การออกแบบรูปแบบของ Blog ที่ต้องการ
การเพิ่ม Gadget ต่าง ๆ การสร้างรายชื่อลิงก์ของเพื่อน ๆ
ในกลุ่มของตนเอง
Google Chrome Web Store
การออกแบบ mind mapping โดย Application ต่าง
ๆ
Week 2 : 20 พฤษภาคม 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. หาข้อมูลตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับมาจากอาจารย์
เตรียมหาข้อมูล เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
หัวข้อมีดังต่อไปนี้
1. ความหมายของนวัตกรรม
2. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
4. นวัตกรรม และเทคโนโลยี มีความเหมือนต่างกันอย่างไร
และสัมพันธ์กันอย่างไร
5. เทคโนโลยีทางการศึกษามีความสำคัญอย่างไร (กลุ่มเราได้นำเสนอเรื่องนี้)
6. นำเสนอพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาในแบบของตน
2. จากการนำเสนอในแต่ละหัวข้อของเพื่อน ๆ อาจารย์ให้ออกข้อสอบ จำนวน 7 ข้อของแต่ละกลุ่ม
รวมของเพื่อน ๆ กลุ่มอื่นที่นำเสนออีกหัวข้อละ 7 ข้อ โดยการออกข้อสอบแบบปรนัย 5
ตัวเลือก หรือข้อสอบอัตนัย พร้อมคำตอบ
3. กลุ่มที่มีคำถามเพิ่มเติม เพิ่มกลุ่มละ 1 ข้อ โดยอาจารย์จะให้โจทย์เดียวกัน
แต่ขึ้นอยู่ว่าแต่ละกลุ่มจะออกข้อสอบแบบปรนัย หรืออัตนัย
4. ระดมสมองของสมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันออกแบบ Infographic โดยการวาดภาพลงในกระดาษที่อาจารย์กำหนดให้ ตกแต่งให้สวยงาม
5. สร้างข้อสอบ ให้ได้ 50 % ของข้อสอบทั้งหมด
นำส่งอาจารย์
ทักษะ
1. ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
2. ทักษะการตอบคำถามจากสิ่งที่ตนเองค้นคว้า หาความรู้มา
3. ทักษะการใช้ปฏิญาณไหวพริบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
4. ทักษะการทำงานเป็นทีม ความสามัคคีของเพื่อนในกลุ่ม
5. ทักษะการสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่น ด้วยความคิดของหลาย ๆ
แล้วนำมาสรรค์สร้างลงบนผลงานของกลุ่ม ออกมาเป็น Infographic ที่สวยงาม
จากความร่วมมือ ร่วมใจของเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน และการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับเพื่อนในห้องเรียน
ผลการเรียนรู้
1. ได้สร้างสรรค์ Infographic ที่สวยงามออกมานำเสนอ
2. ได้เรียนรู้เทคนิคการออกข้อสอบ
3. ได้เรียนรู้ถึงการทำงานเป็นทีม ความร่วมมือ ร่วมใจกันของเพื่อน ๆ ในกลุ่มในการแสดงออกทางความคิดเห็น
และความคิดสร้างสรรค์ จึงได้ผลงานที่สวยงาม
4. สามารถนำการสอนแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้
เช่น ให้นักศึกษาออกแบบ Infographic เรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับบทเรียนในรายวิชาของตนเอง และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน จะช่วยให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออกทางความคิด
และการเรียนรู้การนำเสนอไปด้วย
5. ด้านการนำเสนอ ช่วยให้เราได้พัฒนาความกล้าแสดงออก เทคนิคการนำเสนอ
ลำดับของการนำเสนอ เพื่อช่วยให้เรามีพัฒนาการด้านการนำเสนอผลงาน
2. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
4. นวัตกรรม และเทคโนโลยี มีความเหมือนต่างกันอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร
5. เทคโนโลยีทางการศึกษามีความสำคัญอย่างไร (กลุ่มเราได้นำเสนอเรื่องนี้)
6. นำเสนอพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาในแบบของตน
Week 3 : 27 พฤษภาคม 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. ออกแบบ Site ของตนเอง (ในรายวิชาที่ตนเองสอน)
2. ออกข้อสอบออนไลน์ (คำถามจากการพรีเซนต์ของเพื่อน ๆ) โดย Google
Form
3. การเพิ่มบุ๊กมาร์ค Application ลงในหน้า Google
Chrome เพื่อสะดวกในการเข้าใช้งานได้ง่ายขึ้น
ทักษะ
1. สร้างสรรค์ ตกแต่ง ออกแบบ Site ของตนเองให้สวยงาม
น่าดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
2. การสร้างข้อสอบออนไลน์ เพื่อสะดวกต่อการเรียนการสอน
เราอาจวัดเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนได้
3. สามารถออกแบบให้อยู่ในรูปของการประเมิน (แบบสอบถามความคิดเห็น
หรือแบบสอบถามความพึงพอใจ) ได้ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา
การวิจัยเบื้องต้นของข้าพเจ้าได้เป็นอย่างมาก
4. การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนทั้งหมดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
และช่วยพัฒนาทักษะความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี สื่อการเรียนการสอนได้อีกด้วย
ผลการเรียนรู้
1. ผลงาน Site ของตนเองที่สวยงาม
2. แบบทดสอบออนไลน์ จาก Google Form
3. บุ๊กมาร์คของ Application ที่เราใช้เป็นประจำ
4. เข้าไปติชม site ของเพชรได้
คลิกที่ Link นี้ได้เลยนะคะ
Week 4 : 3 มิถุนายน 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. การสร้าง การออกแบบ Infographic ด้วย www.canva.com โดยมีวิทยากรสุดสวย คือ
อาจารย์ประภัสสร กรองทอง (อ.ปู)
2. การสร้าง E-Book ด้วย Program Microsoft
Power Point โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้คือ อาจารย์..................
3. ออกแบบ Infographic ของตนเอง ในหัวข้อ “หน้าฝนนี้ เที่ยวที่ไหน”
4. ออกแบบ E-Book ของตนเอง โดยนำข้อมูล เนื้อหา
และบทเรียนของรายวิชาตนเอง
ทักษะ
1. เพิ่มทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเรื่อง Infographic
2. ได้ทักษะความคิด ออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาสวยงาม มีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาทักษะในการใช้ Program Microsoft Power Point
ในส่วนอื่น ๆ ที่มีอยู่ในโปรแกรมอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยใช้งาน
4. เพิ่มทักษะการสร้าง Infographic โดยอาศัย ADDIE
เข้ามาช่วย
ผลการเรียนรู้
1. สร้างสรรค์ Infographic
ที่สวยงามในหัวข้อ “หน้าฝนนี้ เที่ยวที่ไหน”
2. ออกแบบ E-Book ในรายวิชา การวิจัยเบื้องต้น
เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอื่น ๆ (E-Book)
3. เรียนรู้ความหมายและความสำคัญของ ADDIE
4. พัฒนาเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงาน การออกแบบด้วย Microsoft
Power Point
มาดูผลงานของเราดีกว่า
^_^
***Infographic ในหัวข้อ “หน้าฝนนี้ เที่ยวที่ไหน”
Week 5 : 10 มิถุนายน 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับครูในศตวรรษที่ 21
2. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0
3. ระดมความรู้ และความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม
สร้างสรรค์ผลงาน อธิบายออกมาในรูปแบบของ Infographic แผนภูมิ
รูปภาพ ฯลฯ ใส่ลงในกระดาษชาร์ท ในหัวข้อ ครูในศตวรรษที่ 21 + ประเทศไทย 4.0
4. ตอบคำถาม อธิบายจากผลงานที่เราทำร่วมกัน
ว่าเราเข้าใจมากน้อยเพียงใด สามารถนำมาประยุกต์
หรือปรับใช้เข้ากับการเรียนการสอนของตนเองได้มากน้อยเพียงใด
ทักษะ
1. พัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของครูในศตวรรษที่ 21
2. พัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับความสำคัญของประเทศไทย 4.0
3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ร่วมกัน
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. การนำเทคนิค วิธีการ
มาปรับใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเอง
ผลการเรียนรู้
1. ผลงาน Infographic ครูในศตวรรษที่
21 + ประเทศไทย 4.0
2. ความเข้าใจในบทบาท และความสำคัญของครูมากขึ้น
3. เพิ่มความรู้การนำความสำคัญของครูในศตวรรษที่ 21 + ประเทศไทย 4.0 มาประยุกต์ใช้กับรายวิชาที่ตนเองสอน
และการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
4. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ในขณะที่เราไม่ทราบข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ หรือเพียงไม่แน่ใจเกี่ยวกับเนื้อหา
เราต้องมีเทคนิค วิธีการอื่น ๆ ที่จะตอบกับผู้เรียนได้
Week 6 : 17 มิถุนายน 2560
ลักษณะของกิจกรรม
1. เนื้อหาเกี่ยวกับสื่อการสอน (Instruction Media) โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
คือ อาจารย์เชาวลิต เกตุกระทุ่ม ผู้ให้ความรู้ในการเรียนการสอนคลาสนี้
- การสร้างสื่อการเรียนการสอน
- การประเมินสื่อ
2. ตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในเนื้อหาบทเรียนนั้น
(ตักตวงความรู้เพิ่มเติมจากท่านวิทยากร)
3. นำเสนอชื่อเรื่องงานวิจัยในชั้นเรียนจากปัญหาที่พบเจอจากการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2560 เพื่อขอคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากท่านวิทยากร
ทักษะ
1. เพิ่มทักษะความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อการสอน
2. เพิ่มทักษะวิธีการประเมินผลของสื่อการสอน
- การประเมินผลโดยผู้สอน
-
การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ
-
การประเมินผลโดยผู้เรียน
3. ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ
4. ทักษะความรู้ จากปัญหาที่ได้พบเจอในห้องเรียน
นำมาเสนอเพื่อทำการวิจัยการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
หรือหาแนวทางในการแก้ปัญหาทีเกิดขึ้น
ผลการเรียนรู้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง
และการประเมินสื่อการสอนมากยิ่งขึ้น
2. ได้เรียนรู้หลัก และวิธีการที่ใช้ในการประเมินสื่อการสอน ให้มีประสิทธิภาพ
สามารถนำไปใช้แล้วเกิดประสิทธิผลที่ดีต่อผู้เรียน
3. ได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่พบเจอในชั้นเรียน วิธีการจัดการเรียนการสอน
วิธีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาของผู้เรียนในชั้นเรียน
4. นำปัญหาที่พบเจอในชั้นเรียน นำมาปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งต่อผู้สอนและผู้เรียน
ลักษณะของกิจกรรม
1. เลือก Application ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2. บอกถึงข้อดี ข้อเสีย ของ Application
3. นำเสนอ Application ที่ตนเองใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. หาความหมาย และทำความเข้าใจกับ PL
(Personal Learning) แล้วสรุปเป็นความคิดของตนเอง ตามที่ตนเองเข้าใจ
5. หาคำศัพท์เกี่ยวกับ Technology
ในรูปแบบของรูปภาพ พร้อมหาความหมายของคำศัพท์
(ที่มาของข้อมูลที่ค้นหาจากเว็บไซต์)
6. อธิบาย Gartner’s Top 10 Strategic
Technology Trends for
2017
ทักษะ
1. เพิ่มความรู้เกี่ยวกับ Application อื่น ๆ ของเพื่อน
ๆ ที่สามารถนำมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนได้
2. ทักษะความรู้ ความชำนาญของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนแต่ละประเภท
เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เรียน
3. ทักษะการค้นคว้า หาคำตอบ หาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่เราไม่ทราบ
4. เข้าใจถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนไม่เพียงแค่เรียนรู้แต่ในห้องเรียนเท่านั้น
ผลการเรียนรู้
1. เราสามารถนำ Application อื่น ๆ ที่เพื่อนนำเสนอ
นำไปปรับใช้ หรือประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนเองได้มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น เพศ, อายุ, ระดับชั้น เป็นต้น
2. เราสามารถนำความรู้ทั้งหมดที่ได้ในวันนี้ ไปปรับใช้ ประยุกต์ใช้
และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เข้าใจ เรียนรู้ถึงคำศัพท์ในเชิงลึก ที่เรายังเข้าไม่ถึงในส่วนนั้น
4. ปรับ เปลี่ยน พัฒนา ประยุกต์ ความรู้
เนื้อหาที่ได้มาจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ แล้วนำมาปรับเป็นความเข้าใจของตนเอง
Week 8 : 1 กรกฎาคม 2560
ลักษณะของกิจกรรม
นักศึกษานำเสนอนวัตกรรม
ที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเอง
ทักษะ
เพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อ นวัตกรรม ของตนเองได้อย่างเชี่ยวชาญ
ผลการเรียนรู้
นำนวัตกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไปปรับ
ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนเอง
ประมวลภาพกิจกรรม ความรู้ ที่เราได้จากการเรียนการสอนมนรายวิชา
นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา จากอาจารย์จินตนา วีระปรียากูร (อาจารย์น้ำตาล)
แล้วพบกันใหม่นะคะ ขอบคุณคะ
(⊙ꇴ⊙)
ตอบลบ